หากคุณพบปัญหาอย่างการที่เครื่องมือวัดความดันอุดตันจากของไหลระบบ คุณอาจกำลังมองหา ไดอะแฟรมซีล (Diaphragm Seals) อุปกรณ์เสริมสำหรับเครื่องมือวัดความดันที่ช่วยให้เครื่องมือไม่จำเป็นต้องสัมผัสกับของไหลโดยตรง แต่ยังทำหน้าที่วัดแรงดันออกมาได้อย่างแม่นยำ
ในบทความนี้เราจะมาอธิบายว่า Diaphragm Seals คืออะไร ลักษณะของไดอะแฟรมซีล หลักการทำงาน รวมถึงการเลือกใช้งานอย่างไรให้เหมาะสมกับงานที่ใช้
Diaphragm Seals คืออะไร ?
ไดอะแฟรมซีล หรือ Diaphragm Seals เป็นอุปกรณ์เสริมที่ใช้ควบคู่กับเครื่องมือวัดความดันในการวัดความดันในอุตสาหกรรมต่างๆ โดยมีคุณสมบัติในการป้องกันเครื่องมือวัดความดันจากสภาวะกระบวนการที่รุนแรง ซึ่งมีแผ่นไดอะแฟรมปิดกั้นของไหลไม่ให้เข้าสู่เครื่องมือวัดความดัน มีเพียงแรงดันเท่านั้นที่ถูกส่งไปยังมาตรวัด
หน้าที่ของ Diaphragm Seals
Diaphragm Seals มีหน้าที่หลักดังนี้:
- ทำหน้าที่แยกของเหลวหรือก๊าซที่ต้องการวัดความดันออกจากเครื่องมือวัด
- ป้องกันไม่ให้สารที่มีฤทธิ์กัดกร่อนหรือเป็นอันตรายสัมผัสกับเครื่องมือวัดโดยตรง
- รับประกันการวัดที่แม่นยําในสภาวะที่ท้าทาย
ลักษณะของ Diaphragm Seals
ปัจจุบันมีการออกแบบไดอะแฟรมซีลสำหรับใช้งานหลายรูปแบบ แต่โดยรวมยังมีโครงสร้างหลักที่เหมือนกัน ดังนี้
- ตัวเรือน (Body)
- แผ่นไดอะแฟรม (Diaphragm)
- การติดตั้งกับเครื่องมือวัด (Instrument Connection)
- การติดตั้งกับกระบวนการ (Process Connection)
ตัวเรือน (Body)
ลักษณะทางกายภาพภายนอกรวมถึงวัสดุที่ใช้ผลิต เช่น พลาสติก uPVC, สแตนเลส ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ในการใช้งานหรือการออกแบบของผู้ผลิต
แผ่นไดอะแฟรม (Diaphragm)
แผ่นไดอะแฟรมซีลมีลักษณะเป็นแผ่นบาง ผิวสัมผัสเป็นคลื่น มีหลายขนาดโดยแต่ละขนาดต่างเหมาะนำไปใช้งานในเงื่อนไขที่แตกต่างกัน เช่น แผ่นไดอะแฟรมซีลขนาด 2.2” เหมาะสำหรับเกจวัดแรงดัน ย่านการวัด 60psi ขึ้นไป หรือ เพรสเชอร์ทรานสมิตเตอร์ ย่านการวัด 15psi ขึ้นไป หากต้องการใช้ในช่วงแรงดันที่ต่ำกว่า อาจต้องเพิ่มขนาดของแผ่นไดอะแฟรม
การติดตั้งเครื่องมือวัด (Instrument Connection)
จุดสำหรับติดตั้งเครื่องมือวัดความดันกับไดอะแฟรมซีล โดยส่วนใหญ่ติดตั้งด้วยเกลียวที่มีขนาดและมาตรฐานที่ต่างกัน เช่น ¼” BSP, ½” NPT หรือในบางรุ่นอาจใช้การเชื่อม (Welded) ระหว่างเครื่องมือวัดและไดอะแฟรมซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดจำกัดในการ
การติดตั้งกับกระบวนการ (Process Connection)
จุดติดตั้งไดอะแฟรมกับกระบวนการ ซึ่งอาจเป็นท่อหรือสาย มีการติดตั้งหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น
- เกลียว (Threaded)
- หน้าแปลน (Flange)
- แคล้มป์รัด (Tri-Clamp)
- ยูเนี่ยน (Union)
โดยการติดตั้งแต่ละรูปแบบมีจุดประสงค์และข้อจำกัดในการใช้งานแตกต่างกัน เช่น แบบเกลียวสามารถรองรับการใช้งานแรงดันสูงได้ดี หรือการติดตั้งแบบ Tri-Clamp หรือ Union ที่นิยมใช้ในงานสุขาภิบาล (Sanitary) เพราะสามารถถอดทำความสะอาดได้ง่าย
ข้อควรพิจารณาในการเลือกใช้ไดอะแฟรมซีล
ตามที่ได้อธิบายไว้ข้างต้น Diaphragm Seals นั้นมีการออกแบบให้สามารถใช้งานได้หลากหลายตามการใช้งาน ผู้ใช้งานจึงจำเป็นต้องพิจารณา ปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อเลือกไดอะแฟรมซีลที่เหมาะสมกับเครื่องมือวัดความดันของคุณ
ข้อควรพิจารณาเกี่ยวกับเครื่องมือวัดความดัน
- ช่วงแรงดันเพียงพอต่อการดันแผ่นไดอะแฟรมหรือไม่ (ยิ่งแรงดันต่ำ ยิ่งต้องการพื้นที่ของแผ่นไดอะแฟรมที่มากขึ้น)
- ไดอะแฟรมมีความไวเพียงพอสําหรับช่วงการวัดและระดับความแม่นยําของเครื่องมือวัดความดันหรือไม่
การพิจารณาเลือกวัสดุของ Diaphragm Seals
เนื่องจากไดอะแฟรมซีลถูกออกแบบมาให้สัมผัสกับของไหลแทนเครื่องมือวัดความดัน วัสดุของ Diaphragm Seals จึงปัจจัยสำคัญ ผู้ใช้ควรเลือกวัสดุเหมาะสมสามารถรองรับ แรงดัน อุณหภูมิ ในหน้างานจริง เพื่ออายุการใช้งานที่ยาวนานที่สุด
ความสะดวกในการทำความสะอาดหรือบำรุงรักษา
ในงานสุขาภิบาล (Sanitary) ที่กำหนดให้มีการทำความสะอาดเครื่องมือต่าง ๆ เป็นประจำ การใช้งาน Diaphragm Seals ผู้ใช้ควรเลือกอุปกรณ์ที่มีการติดตั้งแบบที่สามารถถอดทำความสะอาดได้ง่าย เช่น การติดตั้งแบบ Tri-Clamp หรือการติดตั้งแบบ Union
บทสรุป
สรุปแล้ว Diaphragm Seals คืออุปกรณ์ที่สามารถช่วยปกป้องเครื่องมือวัดความดันของคุณ จากสภาวะแวดล้อมที่รุนแรง ช่วยแยกของไหลในระบบไม่ให้สัมผัสกับมาตรวัดความดันโดยตรง ถือเป็นอุปกรณ์เสริมที่มีประโยชน์ในงานที่ต้องการควบคุมแรงดันอย่างแม่นยำ
โดย Diaphragm Seals ถูกออกแบบมาหลากหลายรุ่น เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้งานให้เหมาะสมกับงานที่ใช้ การเลือกอุปกรณ์ประเภทนี้ ผู้ใช้ควรพิจารณาปัจจัยสำคัญต่าง ๆ เช่น ช่วงแรงดัน ความเข้ากันได้ระหว่างวัสดุกับของไหลในระบบ และความถี่ในการบำรุงรักษาหรือทำความสะอาด
อ้างอิงเนื้อหาจาก : reotemp.com, blog.wika.us
เลือกซื้อ Diaphragm Seals คุณภาพสูง